ปฏิเสธไม่ได้ว่าสายตาสั้นเป็นปัญหาที่พบได้ในคนทุกเพศทุกวัยและพบมากขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบัน เพราะผู้คนส่วนมากมักจะใช้เวลาอยู่กับหน้าจอต่าง ๆ แต่สายตาสั้นก็มีวิธีแก้มากมาย ทั้งวิธีแก้สายตาสั้นโดยการผ่าตัดและวิธีแก้สายตาสั้นโดยที่ไม่ต้องผ่าตัด แล้วสายตาสั้นคืออะไร? วิธีแก้สายตาสั้นมีอะไรบ้าง? หาคำตอบได้ในบทความนี้
ปัญหาสายตาสั้น (Myopia) คืออะไร?
สายตาสั้น (Myopia หรือ Nearsightedness) คือ การที่เราสามารถมองเห็นวัตถุในระยะใกล้ได้ชัด แต่ไม่สามารถมองเห็นวัตถุในระยะไกลได้อย่างชัดเจน เกิดจากการที่กระจกตา (Cornea) มีความโค้งมากกว่าปกติหรือมีขนาดลูกตาที่ยาวเกินไป ทำให้แสงซึ่งสะท้อนจากวัตถุหักเหไปตกกระทบที่ด้านหน้าของจอประสาทตา (Retina) ก่อนถึงจุดรับภาพ (Focal Point) เมื่อแสงไม่ตกกระทบไปยังจุดรับภาพพอดี จะทำให้คนที่มีภาวะสายตาสั้นมีอาการหลัก ๆ คือมองเห็นภาพเบลอ
ภาวะสายตาสั้นพบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ การรักษาสายตาสั้นให้กลับมามีค่าสายตาปกตินั้นไม่สามารถทำได้ด้วยตนเอง แต่ก็มีวิธีแก้สายตาสั้นที่จะช่วยปรับการมองเห็นให้กลับมาคมชัดดังเดิม รวมถึงวิธีรักษาสายตาสั้นที่ทำโดยจักษุแพทย์
วิธีแก้ไขปัญหาสายตาสั้นมีอะไรบ้าง?
วิธีแก้สายตาสั้นสามารถแบ่งออกเป็น 2 วิธี วิธีแรกคือวิธีแก้สายตาสั้นโดยที่ไม่ต้องผ่าตัด ได้แก่ การใส่แว่นสายตาและการใส่คอนแทคเลนส์ วิธีที่ 2 คือ วิธีแก้สายตาสั้นโดยการผ่าตัด ได้แก่ การทำเลสิก (LASIK) ซึ่งการทำเลสิกก็สามารถแบ่งออกได้เป็นอีกหลายวิธี ตามเทคนิคของอุปกรณ์ที่ใช้
การใส่แว่นสายตาธรรมดา
การใส่แว่นสายตาเป็นวิธีแก้สายตาสั้นตามธรรมชาติที่ได้รับความนิยมอย่างมาก แว่นสายตาสำหรับสายตาสั้นจะใช้เลนส์เว้า (Concave Lens) ช่วยปรับการหักเหของแสงให้ตกกระทบยังจุดรับภาพพอดี โดยผู้ที่มีปัญหาสายตาสั้นสามารถเข้ารับการตรวจวัดค่าสายตา และตัดแว่นที่มีค่าสายตาเหมาะสมกับตนเองได้ที่ร้านแว่น
ข้อดีของการใส่แว่นสายตา คือ เป็นวิธีแก้สายตาสั้นที่ง่าย ไม่ต้องผ่าตัดให้เจ็บตัว ทำให้มีความปลอดภัยสูง และในผู้ที่มีภาวะสายตาเอียงร่วมกับสายตาสั้น การตัดเลนส์ที่มีค่าสายตาเอียงร่วมด้วย ก็เป็นวิธีแก้สายตาเอียงอีกวิธีหนึ่ง
ข้อจำกัดของการใส่แว่นสายตา คือ ในการทำงานบางอาชีพอย่างลูกเรือในสายการบิน หรือในการทำกิจกรรมบางอย่าง โดยเฉพาะการเล่นกีฬาอย่างการว่ายน้ำ จะไม่สามารถใส่แว่นสายตาลงไปในสระว่ายน้ำได้ หรือการเล่นกีฬาจำพวกศิลปะป้องกันตัว กีฬาต่อสู้ กีฬาที่มีความผาดโผน การเลือกใช้แว่นสายตาเป็นวิธีแก้สายตาสั้นในกรณีเหล่านี้ก็จะไม่ค่อยสะดวกนัก
การใส่คอนแทคเลนส์
คอนแทคเลนส์เป็นวิธีแก้ปัญหาสายตาสั้นสำหรับคนที่ไม่อยากใส่แว่นสายตาให้เกะกะหรือไม่สามารถทำเลสิกได้ โดยคอนแทคเลนส์มีลักษณะเป็นเลนส์รูปวงกลม ทำมาจากพลาสติก ไฮโดรเจล หรือซิลิโคน ซึ่งมีความนิ่ม บาง และมีขนาดเล็ก
ข้อดีของการเลือกใส่คอนแทคเลนส์เป็นวิธีแก้สายตาสั้น
- ช่วยปรับการมองเห็นให้ชัดเจนกว่าการใส่แว่นสายตา หากดวงตาทั้ง 2 ข้างมีค่าสายตาต่างกันมากก็จะไม่ทำให้เวียนหัว
- ไม่ทำให้ภาพลักษณ์และบุคลิกภาพเปลี่ยนไป มีความคล่องตัวในการทำกิจกรรมต่าง ๆ มากกว่าการใส่แว่น
- มีทัศนวิสัยในการมองเห็นกว้างกว่าการใส่แว่นสายตา เพราะไม่ถูกจำกัดการมองเห็นด้วยกรอบแว่น
- มีประเภทและราคาให้เลือกหลากหลาย ตามความต้องการของผู้สวมใส่
- สามารถหาซื้อได้ง่าย
ข้อจำกัดของการเลือกใส่คอนแทคเลนส์เป็นวิธีแก้สายตาสั้น
- คอนแทคเลนส์ต้องใส่และถอดออกทุกวัน ยกเว้นคอนแทคเลนส์ชนิดใส่ต่อเนื่อง (ไม่ได้รับความนิยม เพราะมีความเสี่ยงที่จะทำให้ดวงตาติดเชื้อสูง)
- ห้ามใส่คอนแทคเลนส์ขณะนอนหลับ
- ไม่ควรใส่คอนแทคเลนส์ติดต่อกันเกิน 12 ชั่วโมง
- คอนแทคเลนส์มีวันหมดอายุ หากหมดอายุแล้วไม่ควรนำมาใส่อีก
- มีราคาสูงกว่าแว่น เพราะต้องเปลี่ยนบ่อย ๆ และต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำยาล้างคอนแทคเลนส์ น้ำตาเทียม รวมถึงค่ารักษา ในกรณีที่ใส่คอนแทคเลนส์แล้วมีความผิดปกติจนต้องไปพบจักษุแพทย์
- การใส่คอนแทคเลนส์ทำให้ตาแห้งมากกว่าการใส่แว่น แต่สามารถแก้ไขได้ด้วยการหยอดน้ำตาเทียม
- ต้องระมัดระวังในเรื่องของความสะอาดเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการใส่ ถอด หรือเก็บ
- เสี่ยงต่อการก่อให้เกิดกระจกตาอักเสบและกระจกตาติดเชื้อ เยื่อบุตาอักเสบ เส้นเลือดฝอยในตาแตก หรือโรคและภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่สามารถทำให้สูญเสียการมองเห็นได้
การทำเลสิกสายตาสั้น
การทำเลสิก (LASIK) เป็นวิธีการแก้สายตาสั้นแบบถาวร เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการใส่แว่นสายตาหรือคอนแทคเลนส์ที่มีข้อจำกัดค่อนข้างมาก ทั้งนี้ การทำเลสิกมีราคาสูงกว่าวิธีแก้สายตาสั้นโดยไม่ต้องผ่าตัดทั้ง 2 วิธีที่ได้กล่าวมา และมีบางคนที่ไม่สามารถทำเลสิกได้ด้วยเหตุผลบางประการ
แต่หากพิจารณาถึงประโยชน์ที่ได้รับ การทำเลสิกก็มีทั้งเลสิกสายตาสั้น เลสิกสายตายาว และเลสิกสายตาเอียง ซึ่งการทำเลสิกเพียงครั้งเดียวจะสามารถแก้ไขปัญหาสายตาเหล่านี้ได้ทั้งหมด ที่สำคัญคือการทำเลสิกยังเป็นวิธีแก้สายตาสั้นข้างเดียวอีกวิธีหนึ่งด้วย การทำเลสิกจึงนับว่าเป็นวิธีแก้สายตาสั้นที่น่าสนใจ
ข้อดีของการเลือกทำเลสิกเป็นวิธีแก้สายตาสั้น
- สามารถแก้ปัญหาค่าสายตาที่ผิดปกติ ทั้งสายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียง
- การผ่าตัดเพื่อทำเลสิกครั้งเดียว สามารถแก้ไขค่าสายตาที่ผิดปกติได้อย่างถาวร
- ใช้ระยะเวลาในการผ่าตัดและพักฟื้นไม่นาน
- หลังการผ่าตัดไม่ต้องสวมแว่นหรือใส่คอนแทคเลนส์อีกต่อไป สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
ข้อจำกัดของการเลือกทำเลสิกเป็นวิธีแก้สายตาสั้น
- ในช่วงแรกหลังเข้ารับการผ่าตัด อาจมีภาวะตาแห้ง
- การผ่าตัดเพื่อทำเลสิกอาจทำให้ดวงตาเกิดการติดเชื้อ แต่สามารถพบได้น้อยมาก
- มีค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดค่อนข้างสูง
- คนที่มีข้อจำกัดบางประการ เช่น คนที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ค่าสายตายังไม่คงที่ คนที่มีค่าสายตาผิดปกติมาก ๆ ผู้หญิงที่อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร คนที่มีโรคเกี่ยวกับดวงตาหรือโรคประจำตัวบางโรค จะไม่สามารถทำเลสิกได้
วิธีแก้สายตาสั้นด้วยเลสิกมีวิธีไหนบ้าง?
วิธีแก้สายตาสั้นด้วยการทำเลสิกหรือการผ่าตัดใส่เลนส์เสริมมีรายละเอียดดังนี้
Microkeratome LASIK
เลสิก (Laser-Assisted in Situ Keratomileusis : LASIK) คือ วิธีแก้สายตาสั้นโดยการใช้ใบมีดจากเครื่อง Microkeratome แยกชั้นกระจกตา แล้วใช้เลเซอร์เอ็กไซเมอร์ (Excimer Laser) ยิงปรับความโค้งของกระจกตา
คนที่จะทำเลสิก (LASIK) ได้ต้องเป็นผู้ที่มีกระจกตาหนาเพียงพอ และไม่มีเงื่อนไขตรงตามข้อจำกัด ซึ่งการทำเลสิก (LASIK)
Femto LASIK
เฟมโตเลสิก (Femto LASIK) คือ วิธีแก้สายตาสั้นโดยการใช้แสงเลเซอร์จากเครื่อง Femtosecond Laser แยกชั้นกระจกตา แล้วใช้เลเซอร์เอ็กไซเมอร์ (Excimer Laser) ยิงปรับความโค้งของกระจกตา
คนที่เหมาะกับการทำเฟมโตเลสิก (Femto LASIK) คือ คนที่มีค่าสายตาคงที่แล้วอย่างน้อย 1 ปี โดยมีค่าสายตาสั้นไม่เกิน 1,000 และมีค่าสายตาเอียงไม่เกิน 500
PRK (Photorefractive Keratectomy)
พีอาร์เค (Photorefractive Keratectomy : PRK) คือ วิธีแก้สายตาสั้นโดยการลอกเยื่อบุผิวบนกระจกตาชั้นนอกออก แล้วใช้เลเซอร์เอ็กไซเมอร์ (Excimer Laser) ยิงปรับความโค้งของกระจกตา
คนที่เหมาะกับการทำพีอาร์เค (PRK) คือ คนที่มีกระจกตาบาง มีภาวะตาแห้ง โดยมีค่าสายตาสั้นไม่เกิน 500 และมีค่าสายตาเอียงไม่เกิน 200 รวมถึงคนที่ประกอบอาชีพทหาร ตำรวจ และนักบิน
ReLEx
รีแลกซ์ (Relex) คือ วิธีแก้สายตาสั้นโดยการใช้เลเซอร์จากเครื่อง Femtosecond Laser แยกชั้นกระจกตา จากนั้นจึงตัดและนำกระจกตาส่วนเกินออก
คนที่เหมาะกับการทำรีแลกซ์สมายล์ (Relex Smile) คือ คนที่มีค่าสายตาสั้นรวมกับค่าสายตาเอียงไม่เกิน 1200 ทั้งนี้ การทำรีแลกซ์สมายล์ (Relex Smile) ไม่สามารถแก้ไขปัญหาสำหรับคนที่มีภาวะสายตายาวได้
ICL
ไอซีแอล (Implantable Collamer Lens : ICL) คือ วิธีแก้สายตาสั้นโดยการใส่เลนส์เสริม หรือ Phakic IOLs เข้าไปในดวงตาอย่างถาวร ซึ่งจะใส่เข้าไปบริเวณหลังม่านตาหรือบริเวณหน้าเลนส์แก้วตา โดยไม่ต้องนำเลนส์แก้วตาที่มีอยู่เดิมตามธรรมชาติออก
คนที่เหมาะกับการทำไอซีแอล (Implantable Collamer Lens : ICL) คือ คนที่มีค่าสายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียงมาก ๆ ซึ่งไม่สามารถแก้ไขปัญหาค่าสายตาเหล่านี้ได้ด้วยการทำเลสิกวิธีอื่น
ขั้นตอนการรักษาสายตาสั้น
การทำเลสิกสายตาสั้นจะใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 30 นาที โดยมีขั้นตอนดังนี้
- หยอดยาชาและยาฆ่าเชื้อลงในดวงตา
- จักษุแพทย์ทำการแยกชั้นกระจกตา
- จักษุแพทย์ใช้เลเซอร์เอ็กไซเมอร์ (Excimer Laser) ยิงเข้าไปยังกระจกตา
- จักษุแพทย์ทำการปิดชั้นกระจกตา โดยกระจกตาจะสมานตัวเองภายในเวลา 3 – 5 นาที
การดูแลตัวเองเพื่อป้องกันไม่ให้สายตาสั้น
แม้ว่าจะมีวิธีแก้สายตาสั้นอย่างการใส่แว่นสายตา ใส่คอนแทคเลนส์ หรือการทำเลสิก แต่คงจะดีกว่าหากสามารถถนอมดวงตาไว้ไม่ให้สายตาสั้นหรือค่าสายตาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนต้องเปลี่ยนแว่นหรือคอนแทคเลนส์บ่อย ๆ รวมถึงผู้ที่ผ่านการทำเลสิกเพื่อแก้ไขค่าสายตามาแล้ว หากไม่ดูแลรักษาดวงตาให้ดี ก็อาจจะกลับมามีสายตาสั้นจนต้องใส่แว่นสายตาอีกครั้ง โดยวิธีป้องกันไม่ให้สายตาสั้นเพิ่มมีดังนี้
- หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่ต้องใช้สายตาอย่างหนัก ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน รวมถึงการทำกิจกรรมที่ต้องใช้สายตาในที่ที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ เช่น การเล่นโทรศัพท์มือถือ การใช้คอมพิวเตอร์ การอ่านหนังสือ
- หมั่นพักสายตาเป็นระยะ เช่น มองออกไปไกล ๆ หรือหลับตา เป็นเวลาประมาณ 30 – 60 วินาที หรือหากเป็นผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นประจำ ให้พักสายตาตามกฎ 20 -20 – 20
- หากใส่แว่นสายตา แนะนำให้เลือกแว่นที่มีเลนส์ซึ่งสามารถกรองแสงสีฟ้าได้
- ใส่แว่นกันแดดเมื่อต้องเผชิญแสงแดดจ้า เพื่อป้องกันดวงตาจากรังสีอัลตราไวโอเลต (UV)
- หมั่นตรวจสุขภาพตาเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ
- รับประทานอาหารที่ช่วยบำรุงสายตา เช่น แครอท ไข่ ปลาแซลมอน อัลมอนด์ ผักใบเขียว
รักษาสายตาสั้น ที่ไหนดี
แม้ว่าจะยังไม่มีวิธีรักษาสายตาสั้นด้วยตัวเอง แต่เราก็สามารถทำเลสิกเพื่อช่วยแก้ไขค่าสายตาได้ สำหรับคนที่กำลังพิจารณาการทำเลสิกเป็นวิธีแก้สายตาสั้น แล้วเกิดคำถามว่าควรทำเลสิกที่ไหนดี? แนะนำว่าให้มาทำเลสิกที่ inZ Hospital เพราะ inZ Hospital เป็นโรงพยาบาลที่เข้าครบทุกเกณฑ์ในการเลือกสถานที่ทำเลสิก เช่น เป็นโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐาน มีทีมจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มีความพร้อมทั้งเครื่องมือ เทคโนโลยีทางการแพทย์ และการให้บริการ มีวิธีการทำเลสิกให้เลือกอย่างหลากหลาย รวมถึงสามารถเดินทางมาได้อย่างสะดวกสบาย
นอกจากนี้ การทำเลสิกที่ inZ Hospital ยังมี Service “inZ Care” ผู้ช่วยส่วนตัวที่จะคอยตอบคำถามและดูแลคุณอย่างใส่ใจในทุกขั้นตอน
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการรักษาสายตาสั้น
สายตาสั้น มีโอกาสกลับมาเป็นปกติได้ไหม
หากสายตาสั้นแล้ว จะไม่มีวิธีการรักษาสายตาให้กลับมาเป็นปกติดังเดิม แต่เราสามารถแก้ไขค่าสายตาเพื่อช่วยเพิ่มความคมชัดในการมองเห็นได้ ด้วยวิธีการทำเลสิก รวมถึงทำตามวิธีการป้องกันสายตาสั้น เพื่อชะลอไม่ให้สายตาสั้นเพิ่มอย่างรวดเร็วเกินไป
สายตาสั้นเท่าไหร่ จึงมีโอกาสเสี่ยงโรคแทรกซ้อน
สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงจะเกิดโรคแทรกซ้อนจากภาวะสายตาสั้น จะต้องเป็นผู้ที่มีค่าสายตามากกว่า 600
สายตาสั้นจะหยุดตอนไหน
สายตาสั้นจะเริ่มคงที่ขึ้นเมื่อเรามีอายุ 20 + ปี เพราะร่างกายมีการเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว หากเราสามารถถนอมดวงตาและทำตามวิธีการป้องกันสายตาสั้นได้ สายตาก็จะไม่สั้นเพิ่มขึ้นหรือสั้นเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย
สายตาสั้นเท่าไรถึงตาบอด
ไม่ว่าจะสายตาสั้นเท่าไหร่ก็ไม่สามารถทำให้ตาบอด เพียงแต่การที่มีค่าสายตาสั้นมาก ๆ จะทำให้ความสามารถในการมองเห็นลดลงมากตามไปด้วย
สายตาสั้นข้างเดียว รักษาอย่างไร
สายตาสั้นข้างเดียวสามารถรักษาได้ด้วยการใส่คอนแทคเลนส์และการทำเลสิก โดยผู้ที่มีสายตาสั้นข้างเดียวควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยกับจักษุแพทย์ เพื่อหาแนวทางแก้ไขที่เหมาะสมกับตนเองต่อไป
สรุปวิธีแก้สายตาสั้น
สำหรับผู้ที่มีภาวะสายตาสั้น ก็มีวิธีแก้สายตาสั้นทั้งการใส่แว่นสายตา การใส่คอนแทคเลนส์ และการทำเลสิกหรือผ่าตัดใส่เลนส์เสริม แต่ละวิธีก็มีรายละเอียดแตกต่างกันไป ในการเลือกว่าจะใช้วิธีแก้สายตาสั้นวิธีไหน ควรพิจารณาถึงข้อดีและข้อจำกัด รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ ให้ครบทุกด้าน เพื่อหาวิธีแก้สายตาสั้นที่ดีที่สุดสำหรับตัวเองต่อไป