ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบัน ทำให้มีวิธีแก้ไขสายตายาวโดยการผ่าตัดที่เรียกว่าการทำเลสิก (LASIK) หากสายตายาวทำเลสิกแล้ว ก็จะช่วยแก้ไขให้ค่าสายตาให้กลับมาเป็นปกติ เป็นวิธีที่เห็นผลลัพธ์ชัดเจนและถาวร โดยเทคนิคในการทำเลสิกสามารถแบ่งออกเป็นหลายเทคนิค แล้วการทำเลสิกสายตายาวมีข้อดีและข้อควรระวังอย่างไรบ้าง? หรือควรทำเลสิกสายตายาวที่ไหนดี? บทความนี้มีคำตอบ
ปัญหาสายตายาวคืออะไร?
สายตายาว (Hyperopia หรือ Hypermetropia) คือ การที่เราสามารถมองเห็นวัตถุในระยะไกลได้ชัด แต่ไม่สามารถมองเห็นวัตถุในระยะใกล้ได้อย่างชัดเจน เกิดจากการที่กระจกตามีความโค้งน้อยหรือแบนเกินไป รวมทั้งขนาดของลูกตาสั้นเกินไป ทำให้เมื่อแสงตกกระทบลงบนวัตถุและสะท้อนเข้าสู่ดวงตา การหักเหของแสงจะน้อยลง แสงจึงตกกระทบเลยจุดรับภาพที่อยู่ในดวงตาออกไป เมื่อเรามองวัตถุที่อยู่ใกล้ ๆ จึงเบลอกว่ามองวัตถุที่อยู่ไกล ๆ
ความจริงแล้ว สายตายาวยังสามารถพบได้ตั้งแต่วัยเด็ก เพราะสายตายาวแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ สายตายาวโดยกำเนิด (Farsightedness) และสายตายาวตามอายุ (Presbyopia) ซึ่งสายตายาวโดยกำเนิดจะเป็นมาตั้งแต่เกิด แตกต่างจากสายตายาวตามอายุที่พบได้เมื่ออายุมากขึ้น โดยมักจะพบในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ยิ่งอายุเพิ่มมากขึ้น สายตาก็จะยิ่งยาวมากขึ้น ทั้งนี้ เลสิกสายตายาวสามารถแก้ปัญหาสายตายาวได้ทั้ง 2 ประเภท
วิธีแก้ไขปัญหาสายตายาวตามอายุมีอะไรบ้าง?
วิธีแก้ไขปัญหาสายตายาวตามอายุ หากใช้เกณฑ์ในการผ่าตัดเป็นตัวแบ่ง ก็จะสามารถแบ่งออกเป็น 2 วิธีหลัก ๆ ได้แก่ การแก้ไขสายตายาวโดยการผ่าตัด ไม่ว่าจะเป็นการทำเลสิกสายตายาว หรือการผ่าตัดใส่เลนส์เสริม และการแก้ไขสายตายาวโดยไม่ต้องผ่าตัด คือ การใส่แว่นสายตาและการใส่คอนแทคเลนส์สายตายาว
ใส่แว่นสายตาธรรมดา
การใส่แว่นสายตา เป็นวิธีที่ช่วยปรับการมองเห็นให้กลับมาคมชัดอย่างง่าย ๆ และได้รับความนิยมในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยแว่นสายตาธรรมดาที่จะช่วยแก้ไขปัญหาสายตายาวสามารถแบ่งออกได้ตามประเภทของเลนส์ที่ใช้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
- แว่นสายตาสำหรับมองใกล้ (Near Glasses หรือ Reading Glasses) เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่มีความผิดปกติทางสายตาอื่น ๆ เลย เช่น สายตาสั้นหรือสายตาเอียง โดยผู้ที่ใส่แว่นสายตาชนิดนี้ จะใส่แว่นสำหรับมองใกล้เฉพาะตอนที่ต้องการมองวัตถุในระยะใกล้เท่านั้น หากต้องการกลับมามองในระยะปกติ หรือมองในระยะไกล ก็ให้ถอดแว่นออก
- แว่นสายตาเลนส์สองชั้น (Bifocals Glasses) เป็นแว่นสายตาที่มีเลนส์สำหรับมองในระยะไกลอยู่ด้านบน และเลนส์สำหรับมองในระยะใกล้อยู่ด้านล่าง ซึ่งแว่นตาชนิดนี้จะมีรอยต่อระหว่างเลนส์แบ่งเป็นครึ่งบนและครึ่งล่างอย่างชัดเจน ดังนั้น จึงมีข้อจำกัดตรงที่ หากมองผ่านรอยต่อของเลนส์ จะทำให้เห็นภาพของวัตถุกระโดดหรือเคลื่อนที่ รวมทั้งดูไม่สวยงามเพราะเห็นรอยต่อของแว่น แต่ก็มีข้อดีคือ ปรับตัวในการใช้ได้ง่ายกว่าแว่นสายตาเลนส์โปรเกรสซีฟ รวมถึงมีราคาถูกกว่า
ใส่แว่นสายตาหลายระยะ (progressive glasses)
แว่นสายตาเลนส์โปรเกรสซีฟ (Progressive Glasses) เป็นแว่นสายตาที่ถูกพัฒนามาจากแว่นสายตาเลนส์สามชั้น (Trifocal Glasses) จึงเป็นแว่นสายตาที่มีเลนส์ช่วยมองในทุกระยะ โดยเลนส์โปรเกรสซีฟจะถูกแบ่งออกเป็น 3 โซน มีการไล่ระดับค่าสายตาตามระยะที่ใช้มอง คือ เลนส์โซนด้านบนสำหรับมองระยะไกล เลนส์โซนตรงกลางสำหรับมองระยะกลางหรือระยะคอมพิวเตอร์ สุดท้ายคือเลนส์โซนด้านล่างสำหรับมองระยะใกล้
แว่นสายตาเลนส์โปรเกรสซีฟมีข้อดีคือ มีความสวยงามกว่าแว่นสายตาเลนส์สองชั้น เนื่องจากไม่เห็นรอยต่อในเลนส์ของแว่น และยังเหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการสวมแว่นสลับกับการถอดแว่นบ่อย ๆ แต่ก็ยังมีข้อจำกัดตรงที่ หากเหลือบมองด้านข้าง จะเห็นภาพเบลอหรือบิดเบือน เวลาที่ต้องการมองด้านข้างจึงควรหันหน้าไปมองแทน ดังนั้น การใส่แว่นประเภทนี้จึงต้องใช้ระยะเวลาปรับตัวนานกว่า รวมถึงมีราคาค่อนข้างสูงกว่าแว่น 2 ชนิดข้างต้น
ใส่คอนแทคเลนส์
คอนแทคเลนส์สำหรับแก้ไขปัญหาสายตายาว จะเป็นคอนแทคเลนส์ชนิดพิเศษ โดยเลนส์จะมีระยะโฟกัสสองระยะ ช่วยให้สามารถมองเห็นทั้งในระยะใกล้และระยะไกล แต่ไม่สามารถใช้ได้กับทุกคน
เทคนิค Monovision
เทคนิค Monovision จะเป็นการแบ่งระยะในการมอง โดยทำให้ตาข้างที่ไม่ถนัด มองชัดในระยะใกล้ และทำให้ตาข้างที่ถนัด มองชัดในระยะไกล เมื่อใช้ดวงตาทั้ง 2 ข้างร่วมกัน จะทำให้สามารถมองเห็นได้ทั้งในระยะใกล้และในระยะไกล วิธีนี้สามารถทำได้ทั้งการใส่แว่น ใส่คอนแทคเลนส์ การรักษาด้วยการผ่าตัดรักษาภาวะสายตาผิดปกติ (Refractive Surgery) หรือการผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์ตา
คลื่นวิทยุ Near Vision CK (Conductive Keratoplasty)
เป็นการใช้คลื่นวิทยุยิงเข้าไปที่ดวงตาแทนการใช้แสงเลเซอร์ โดยใช้ความร้อนยิงเป็นจุดเล็ก ๆ ไปยังเนื้อเยื่อกระจกตา ทำให้คอลลาเจนไฟเบอร์หดและตึงตัวมากขึ้น ส่งผลให้กระจกตาโค้งนูนขึ้น ซึ่งเป็นวิธีที่รวดเร็วและก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บน้อย แต่จะช่วยแก้ปัญหาได้เพียงประมาณ 1 – 2 ปี ผลลัพธ์จึงไม่ถาวร
ผ่าตัดใส่วงแหวนที่ตาขาว (Scleral Expansion Surgery)
เป็นการผ่าตัดเพื่อกระตุ้นให้กล้ามเนื้อวงแหวนตาหดตัว ซึ่งวิธีนี้อาจทำให้ตาอักเสบ เกิดการระคายเคืองได้
การทำเลสิกสายตายาว ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป
การทำเลสิก (lasik) สายตายาวตามอายุ สำหรับผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป จะแบ่งตามการปรับระดับค่าของสายตาออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
- Full Correction : การทำเลสิกสายตายาวแบบ Full Correction จะเป็นการทำเลสิกเพื่อปรับระดับความโค้งของกระจกตา ช่วยให้ค่าสายตากลับมาใกล้เคียง 0 ที่สุด ในดวงตาทั้ง 2 ข้าง จึงแก้ปัญหาสายตายาวโดยกำเนิด ซึ่งเกิดจากความโค้งของกระจกตาแบนเกินไปได้
การทำเลสิกสายตายาวแบบ Full Correction จะไม่สามารถแก้ไขปัญหาสายตายาวตามอายุที่เกิดจากความสามารถในการเพ่งลดลง ดังนั้น หลังจากที่ทำเลสิกประเภทนี้แล้ว จึงยังต้องใส่แว่นสายตายาวตามอายุเพื่อช่วยในการมองวัตถุระยะใกล้ แต่การทำเลสิกสายตายาวแบบ Full Correction มีข้อดีคือจะทำให้มองเห็นในระยะไกลได้ชัดที่สุด ไม่สูญเสียการมองลึก – ตื้น หรือ 3 มิติ และช่วยให้มองเห็นตอนกลางคืนได้ชัดขึ้น - Monovision : การทำเลสิกสายตายาวแบบ Monovision จะเป็นการทำเลสิกเพื่อปรับระดับความโค้งของกระจกตา ช่วยแก้ไขค่าสายตาข้างที่ถนัดหรือข้างที่เป็นตาเด่นให้มองในระยะไกลชัด ส่วนตาข้างที่ไม่ถนัดหรือข้างที่เป็นตาด้อยจะแก้ไขค่าสายตาให้เหลือติดสั้นระดับนึง เพื่อให้มองในระยะใกล้ชัด
ข้อจำกัดของการทำเลสิกสายตายาวแบบ Monovision คือเมื่อมีตาข้างหนึ่งที่มีค่าสายตาสั้นสำหรับมองในระยะใกล้ จะทำให้มีความยากลำบากในการมองเห็นตอนกลางคืน โดยเฉพาะเวลาที่ต้องขับรถ แต่สามารถแก้ไขได้ด้วยการใส่แว่นสายตาช่วย - Presbylasik : การทำเลสิกสายตายาวแบบ Presby LASIK หรือ Presby Max จะเป็นการทำเลสิกเพื่อปรับระดับความโค้งของกระจกตาในดวงตาทั้ง 2 ข้าง ให้สามารถมองได้ชัดทั้งในระยะใกล้ ระยะกลาง และระยะไกล หรือก็คือในทุกระยะนั่นเอง ดังนั้น การทำ lasik สายตายาวแบบ Presby LASIK จึงไม่เพียงแต่แก้ปัญหาสายตายาวเท่านั้น แต่ยังแก้ปัญหาสายตาสั้นและสายตาเอียงได้อีกด้วย ทั้งนี้ การทำเลสิกสายตายาวประเภทนี้มีข้อจำกัดคือ ในอนาคตค่าสายตาอาจเปลี่ยนแปลงตามอายุ ทำให้ต้องกลับมาใส่แว่นสายตายาวตามอายุ
การทำเลสิกแก้ปัญหาสายตา โดยการผ่าตัดมีอะไรบ้าง?
การผ่าตัดถูกนำมาใช้เป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับการแก้ปัญหาสายตายาว เพราะเป็นการทำหัตถการครั้งเดียวที่เห็นผลลัพธ์ชัดเจนและคงอยู่อย่างถาวร ซึ่งการผ่าตัดในที่นี้คือการทำเลสิกสายตายาว โดยแบ่งแยกออกเป็นอีกหลายเทคนิค นอกจากนี้ ยังมีวิธีผ่าตัดเพื่อแก้ไขปัญหาสายตาอื่น ๆ ได้แก่
Microkeratome LASIK
เลสิก (Laser-Assisted in Situ Keratomileusis : LASIK) คือ การใช้ใบมีดอัตโนมัติจากเครื่อง Microkeratome ในการแยกชั้นกระจกตา จากนั้นใช้เลเซอร์เอ็กไซเมอร์ (Excimer Laser) ยิงเข้าไปในดวงตา เพื่อปรับความโค้งของกระจกตา ดังนั้น เมื่อมีแสงตกกระทบวัตถุแล้วสะท้อนเข้าสู่ดวงตา จุดรวมแสงจะหักเหที่กระจกตาแล้วตกกระทบบริเวณจอประสาทตาพอดี ทำให้สามารถมองเห็นภาพได้อย่างชัดเจน ซึ่งกระจกตาที่ปรับเปลี่ยนความโค้งแล้วจะเปลี่ยนอย่างถาวร
นอกจากเลสิกสายตาสั้นและยาวแล้ว ยังมีเลสิกสายตาเอียงด้วย
Femto LASIK
เฟมโตเลสิก (Femto LASIK) คือ หนึ่งในเทคนิคของการทำเลสิกสายตายาว เป็นการผ่าตัดแบบไร้ใบมีด โดยใช้แสงเลเซอร์จากเครื่อง Femtosecond Laser ที่มีพลังงานต่ำแต่ความถี่สูงมาช่วยในการแยกชั้นกระจกตา จากนั้นจึงใช้เลเซอร์เอ็กไซเมอร์ (Excimer Laser) ยิงเข้าไปในดวงตา เพื่อปรับความโค้งของกระจกตาอีกที
การทำเลสิกสายตายาวเทคนิคเฟมโตเลสิก (Femto LASIK) จะช่วยลดความคลาดเคลื่อนในการแยกชั้นกระจกตาและมีความแม่นยำในการปรับความโค้งของกระจกตาอย่างมาก อีกทั้งการใช้เลเซอร์พลังงานต่ำยังช่วยให้เนื้อเยื่อรอบ ๆ ไม่ได้รับความเสียหาย เป็นการถนอมดวงตาไปด้วย นอกจากนี้ การทำ lasik สายตายาวด้วยเทคนิคนี้ยังใช้เวลาน้อย ขณะทำจะไม่รู้สึกเจ็บ ใช้เวลาพักฟื้นเพียงระยะเวลาสั้น ๆ รวมถึงสามารถใช้ในการแก้ปัญหาสายตาสั้นและเอียงได้
ความแตกต่างของการทำเลสิก (LASIK) กับเฟมโตเลสิก (Femto LASIK) อยู่ที่วิธีที่ใช้ในการแยกชั้นกระจกตา โดยเฟมโตเลสิก (Femto LASIK) จะใช้เลเซอร์จากเครื่อง Femtosecond Laser แทนการใช้ใบมีดจากเครื่อง Microkeratome
PRK (Photorefractive Keratectomy)
พีอาร์เค (Photorefractive Keratectomy : PRK) คือ หนึ่งในเทคนิคของการทำเลสิกสายตายาว โดยจะกำจัดเซลล์ชั้นนอกหรือลอกเยื่อบุผิวบนกระจกตาด้านนอกออก จากนั้นจึงใช้เลเซอร์เอ็กไซเมอร์ (Excimer Laser) ยิงเพื่อปรับความโค้งของกระจกตาให้ได้ตามค่าสายตาที่คำนวณไว้ ส่วนเยื่อบุผิวกระจกตาจะฟื้นฟูกลับขึ้นมาใหม่เอง
ความแตกต่างของการทำเลสิกกับการทำพีอาร์เค (PRK) คือ การทำพีอาร์เค (PRK) ไม่ต้องแยกชั้นกระจกตา จึงสามารถทำได้ในคนที่มีกระจกตาบางและมีภาวะตาแห้ง มีโอกาสในการเกิดผลข้างเคียงค่อนข้างน้อย อีกทั้งยังเป็นวิธีเดียวที่ได้รับการอนุญาตให้ทำสำหรับผู้ที่ต้องการสอบนักบิน
ReLEx
รีแลกซ์ (Relex) คือ การทำเลสิกด้วยการผ่าตัดแบบไร้ใบมีด โดยจะใช้แสงเลเซอร์จากเครื่อง Femtosecond Laser มาแยกชั้นกระจกตาแทน ซึ่งเป็นการแยกชั้นกระจกตาโดยไม่มีฝา จากนั้นจึงตัดและนำกระจกตาส่วนเกินออกทางแผลขนาดเล็กที่เปิดไว้ เป็นวิธีการผ่าตัดแก้ปัญหาสายตาที่รบกวนกระจกตาน้อยที่สุด ใช้เวลาในการผ่าตัดรวดเร็ว หลังการผ่าตัดแล้วจะรู้สึกระคายเคืองตาเพียงเล็กน้อย สามารถฟื้นตัวได้ไว ค่าสายตาที่ได้มีความแม่นยำ
รีแลกซ์ (Relex) ไม่ใช่การทำเลสิกสายตายาว เพราะสามารถแก้ไขได้เพียงปัญหาสายตาสั้นและเอียงเท่านั้น
LASEK (Laser Epithelial Keratomileusis)
ลาเสค (Laser Epithelial Keratomileusis : LASEK) คือ หนึ่งในเทคนิคของการทำเลสิกสายตายาว โดยจะใช้แอลกอฮอลล์ในการลอกผิวเยื่อหุ้มกระจกตาออกมาพักไว้ จากนั้นจึงใช้เลเซอร์เอ็กไซเมอร์ (Excimer Laser) ยิงเข้าไปในลูกตา เพื่อปรับความโค้งของกระจกตา ดังนั้น ลาเสค (LASEK) จึงต่างจากการทำเลสิก (LASIK) ตรงที่ไม่ต้องแยกชั้นกระจกตา เหมาะกับผู้ที่มีกระจกตาบาง หรือไม่สามารถทำเลสิก (LASIK) ได้ด้วยข้อจำกัดบางประการ
นอกจากเป็นเลสิกสายตายาวแล้ว ลาเสค (LASEK) ยังสามารถใช้แก้ไขปัญหาสายตาสั้นและเอียงได้อีกด้วย
ICL (Implantable Collamer Lens)
ไอซีแอล (Implantable Collamer Lens : ICL) คือ การนำเลนส์เสริมชนิดถาวรมาใส่ในดวงตา โดยจะเปิดแผลกระจกตา ประมาณ 3 มม. และฝังเลนส์เข้าไปบริเวณหลังม่านตา หน้าเลนส์แก้วตา หลังจากนั้นกระจกตาจะค่อย ๆ สมานตัวได้เอง
เลนส์เสริมทำจากวัสดุ Collamer เป็นวัสดุที่มีความยืดหยุ่น นิ่ม เข้ากับร่างกายของเราได้ ไม่ก่อให้เกิดอาการระคายเคือง หากในอนาคตต้องการถอดเลนส์เสริมออกก็สามารถทำได้ โดยจะไม่ส่งผลกระทบใด ๆ ต่อกระจกตา วิธีนี้นับว่ามีความปลอดภัยและช่วยแก้ไขปัญหาสายตาที่มีค่าความผิดปกติมาก ๆ ได้ ทั้งสายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียง
ข้อดีของการทำเลสิกสายตายาว
การทำเลสิกสายตายาวมีข้อดีดังนี้
- การทำเลสิกสายตายาวช่วยแก้ปัญหาทั้งสายตายาวโดยกำเนิดและสายตายาวตามวัย ช่วยให้การมองเห็นกลับมาชัดเจน
- การทำเลสิกสายตายาวจะช่วยแก้ไขปัญหาค่าสายตาที่ผิดปกติอย่างถาวร
- การทำเลสิกสายตายาวมีให้เลือกหลายเทคนิค ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในแต่ละบุคคล
- การทำเลสิกสายตายาวจะใช้เวลาในการผ่าตัดและพักฟื้นไม่นาน
- หลังการผ่าตัดเลสิกสายตายาวแล้ว จะไม่ต้องสวมแว่นหรือใส่คอนแทคเลนส์อีกต่อไป ช่วยเพิ่มความสวยงาม สร้างความมั่นใจ ปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพ
- การทำเลสิกสายตายาวจะช่วยให้มีการมองเห็นเป็นปกติ จึงสามารถประกอบอาชีพและทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น เช่น การเล่นกีฬาทางน้ำ การเล่นกีฬาประเภทต่อสู้ การเล่นกีฬาที่มีความผาดโผน
ข้อควรระวังในการทำเลสิกสายตายาว
ข้อควรระวังในการทำเลสิกสายตายาวมีดังนี้
- ผู้ที่ต้องการทำเลสิกสายตายาวต้องมีค่าสายตาคงที่แล้วอย่างน้อย 1 ปี
- ผู้ที่มีกระจกตาบางเกินไป มีประวัติกระจกตาอักเสบและกระจกตาติดเชื้อ มีโรคทางตาต่าง ๆ เช่น ต้อหิน ต้อกระจก เบาหวานขึ้นตา จอประสาทตาเสื่อม ไม่ควรทำเลสิกสายตายาว
- การทำเลสิกสายตายาวจะไม่สามารถแก้ปัญหาสำหรับผู้ที่มีสายตายาวมาก ๆ ได้
- หลังการทำเลสิกสายตายาว บางคนอาจมีภาวะตาแห้งชั่วคราว แต่สามารถหยอดน้ำตาเทียมเพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับดวงตาได้
- การทำเลสิกสายตายาวมีโอกาสเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการติดเชื้อ แต่พบเป็นจำนวนน้อยมาก ๆ
- การทำเลสิกสายตายาวมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง
- ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถทำเลสิกสายตายาวได้ หากต้องการทำเลสิกสายตายาว แนะนำให้เข้ารับคำปรึกษาจากจักษุแพทย์
ทำเลสิกสายตายาวที่ไหนดี ปี 2567
ในปัจจุบัน หากต้องการทำเลสิกสายตายาว ก็มีสถานพยาบาลให้เลือกหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาล ศูนย์เลสิก หรือคลินิกต่าง ๆ โดยการเลือกว่าจะทำเลสิกที่ไหนดี ควรพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
- เป็นโรงพยาบาล ศูนย์เลสิก หรือคลินิกที่มีชื่อเสียง ได้รับการรับรองมาตรฐานในระดับสากล
- สถานพยาบาลจัดตั้งขึ้นอย่างถูกต้องตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 มีเลขที่ใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาล
- ทำการรักษาและผ่าตัดโดยจักษุแพทย์เฉพาะทางที่มีความชำนาญ มีประสบการณ์ และมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม
- มีอุปกรณ์และเครื่องมือในการรักษาที่ครบครันและทันสมัย ใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้า
- มีเทคนิคและวิธีการทำเลสิกให้เลือกหลากหลาย แตกต่างกันไปตามความเหมาะสมของคนไข้แต่ละคน
- สถานพยาบาลอยู่ใกล้ที่พักอาศัย หรือตั้งอยู่ในที่ที่สามารถเดินทางสัญจรได้อย่างสะดวก รวดเร็ว
- มีค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สมเหตุสมผล
- มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงพอต่อความต้องการของผู้มาใช้บริการ
- มีบุคลากรที่คอยให้บริการด้วยความรู้ความสามารถและความเอาใจใส่
สรุปการทำเลสิกสายตายาว
การทำเลสิกสายตายาวเป็นวิธีแก้ไขปัญหาสายตายาวที่ช่วยให้การมองเห็นกลับมาคมชัดปกติอย่างถาวร ซึ่งมีเทคนิคในการทำให้เลือกหลากหลาย ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของคนไข้แต่ละคน แม้ว่าการทำเลสิกสายตายาวจะมีข้อดีมากมาย แต่ก็มีข้อควรระวังเช่นกัน ทั้งนี้ หากใครที่สนใจจะทำเลสิก ควรเลือกทำที่สถานพยาบาลซึ่งเข้าหลักเกณฑ์การพิจารณาต่าง ๆ อย่าง inZ Hospital ที่นอกจากจะทำการรักษาโดยจักษุแพทย์เฉพาะทางแล้ว ยังมีอุปกรณ์และเครื่องมือที่ครบครัน ทันสมัย รวมถึงเป็นโรงพยาบาลที่ได้รับการรับรองมาตรฐานในระดับสากล