รู้หรือไม่ว่าโรคภูมิแพ้นั้นไม่ได้เกิดแค่ ระบบทางเดินหายใจเพียงอย่างเดียว เพราะยังสามารถเกิดได้ที่บริเวณดวงตา โดยมีชื่อเรียกของโรคว่าภูมิแพ้ขึ้นตา ซึ่งถือเป็นโรคภูมิแพ้ประเภทหนึ่งที่พบบ่อยมาก
ทั้งการเกิดแบบเฉียบพลัน หรือการเกิดตามฤดูกาล โดยมักมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ จึงทำให้อาการภูมิแพ้ขึ้นตานั้น เป็นโรคกวนใจของใครหลายคนเลยทีเดียว
ภูมิแพ้ขึ้นตาคืออะไร อันตรายแค่ไหน
โรคภูมิแพ้ขึ้นตาเกิดจากการอักเสบบริเวณเยื่อบุตาขาวแบบเฉียบพลัน โดยไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อเหมือนกับโรคตาแดง แต่เกิดจากสารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ ซึ่งภูมิแพ้ขึ้นตาอาการจะคงอยู่และหายไป หรืออาจจะกลับมาเป็นได้ใหม่ทุกเมื่อหากเจอสารก่อภูมิแพ้ แบ่งรูปแบบของการเกิดโรคภูมิแพ้ขึ้นตา เป็น 2 ประเภทดังนี้
1. ภูมิแพ้ขึ้นตาที่เกิดเฉียบพลัน
อาการภูมิแพ้ขึ้นตาเกิดขึ้นแบบเฉียบพลัน หลังจากได้สัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ เช่น ไรฝุ่น, รังแคสัตว์, ขนสัตว์, เกสรดอกไม้, วัชพืช, แพ้ยาหยอดตา และคอนแทคเลนส์
2. ภูมิแพ้ขึ้นตาเกิดขึ้นตามฤดูกาล
จะพบอาการของโรคภูมิแพ้ขึ้นตาตามฤดูกาลเดิมที่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เช่น การเกิดซ้ำในเวลาเดิมของแต่ละเดือน ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดอาการภูมิแพ้ขึ้นตาตามฤดูกาลคือสภาพอากาศ โดยมักจะเกิดในฤดูกาลที่มีสภาพอากาศของสารก่อภูมิแพ้มาก อย่างช่วงฤดูใบไม้ผลิ
โดยภูมิแพ้ขึ้นตา เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ทุกช่วงอายุ ไม่ว่าจะเป็นภูมิแพ้ขึ้นตาในเด็กตลอดจนผู้ใหญ่ ซึ่งสามารถรักษาได้ แต่จำเป็นจะต้องทราบสาเหตุของอาการของภูมิแพ้ขึ้นตาเสียก่อน เพื่อการรักษาภูมิแพ้ขึ้นตาอย่างตรงจุด
อาการแบบไหน คือเป็นภูมิแพ้ขึ้นตา
สำหรับอาการของภูมิแพ้ขึ้นตา มีลักษณะของอาการที่ชัดเจน และผู้ป่วยสามารถสังเกตอาการของตัวเองเบื้องต้นได้ ดังนี้
- มีอาการคันตา
- ภูมิแพ้ขึ้นตาตาแดง
- น้ำตาไหล ตาไวต่อการรับแสง
- มีอาการเคืองตาและแสบตาร่วมด้วย
- ภูมิแพ้ขึ้นเปลือกตาบวม (พบได้ในผู้ป่วยบางราย)
ซึ่งในผู้ป่วยบางรายอาจมีขี้ตาที่เป็นลักษณะเหนียวข้นออกมาร่วมด้วย และอาจจะเกิดทั้งภูมิแพ้ขึ้นตาข้างเดียว หรืออาจเกิดอาการภูมิแพ้ขึ้นตาทั้งสองข้างก็ได้เช่นเดียวกัน
ภูมิแพ้ขึ้นตาเกิดจากอะไร
ภูมิแพ้ขึ้นตานั้น เป็นโรคภูมิแพ้ที่เกิดขึ้นบริเวณเยื่อบุตาด้านในที่มีการอักเสบ โดยอาการของภูมิแพ้ขึ้นตาเป็นผลมาจากสารก่อภูมิแพ้ ซึ่งเยื่อบุตาอักเสบจะเกิดได้ทั้งแบบเฉียบพลัน และแบบเรื้อรัง ปัจจัยส่วนใหญ่ของอาการภูมิแพ้ขึ้นตาเกิดจาก สิ่งเหล่านี้
- ดวงตาสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ เช่น ไรฝุ่น, ขนสัตว์
- ช่วงฤดูกาลใบไม้ผลิ ซึ่งเป็นช่วงที่มีละอองเกสรดอกไม้ที่เป็นสารก่อภูมิแพ้
การตรวจวินิจฉัยภาวะภูมิแพ้ขึ้นตา เพื่อแก้ปัญหาที่ตรงจุด
หากมีอาการคันตา ตาแดง ตาอักเสบ เปลือกตามีการบวม เป็นอาการเบื้องต้นที่สามารถสังเกตได้ด้วยตัวเอง ซึ่งการหาสาเหตุโรคภูมิแพ้ขึ้นตามีหลายปัจจัยด้วยกัน โดยการที่จะรักษาอาการภูมิแพ้ขึ้นตาอย่างตรงจุด จึงจำเป็นที่จะต้องตรวจวินิจฉัย ว่าสาเหตุเกิดจากสิ่งใด โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
- ขั้นตอนแรกแพทย์จะทำการซักประวัติโรคภูมิแพ้ที่เคยเป็น
- ตรวจวินิจฉัยโดยพิจารณาการตรวจจากเยื่อบุตาขาว
- พลิกเปลือกตาเพื่อตรวจดูความอักเสบของเยื่อบุตาด้วยกล้อง Slit Lamp
วิธีรักษาภูมิแพ้ขึ้นตา ไม่ใช่เรื่องยาก
วิธีรักษาภูมิแพ้ขึ้นตา อันดับแรกต้องผ่านการวินิจฉัยโรคจากจักษุแพทย์เพื่อทราบสาเหตุของการเกิดภูมิแพ้ขึ้นตาที่ชัดเจน และเลือกวิธีการรักษาได้อย่างถูกต้อง ซึ่งมีวิธีการรักษาโรคดังนี้
1.หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้แพ้
ผู้ป่วยจำเป็นที่จะต้องรู้ว่าตัวเองนั้นแพ้สารก่อภูมิแพ้ขึ้นตาประเภทไหน โดยจะรู้ได้จากการตรวจวินิจฉัยเบื้องต้นตามที่ได้กล่าวไว้ เช่น หากแพ้ฝุ่น ก็ควรหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีฝุ่นเยอะ หรือหากแพ้ขนสัตว์ก็ควรหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สัตว์ เป็นต้น
2.รับการรักษาจากจักษุแพทย์
เข้ารับการรักษาภูมิแพ้ขึ้นตา จากจักษุแพทย์เฉพาะทาง เพื่อป้องกันอาการและโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นของโรค โดยรักษาด้วยการใช้ยาหยอดตาแก้ภูมิแพ้ขึ้นตา
การป้องกันภูมิแพ้ขึ้นตาด้วยตัวเอง
วิธีที่ดีที่สุดสำหรับการป้องกันภูมิแพ้ขึ้นตา คือการหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้แพ้ เป็นอันดับแรก เพื่อลดอาการรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้ และขอแนะนำวิธีแก้ภูมิแพ้ขึ้นตา ด้วยสิ่งเหล่านี้
- ใช้น้ำตาเทียมล้างตา เพื่อชะล้างสารก่อภูมิแพ้ออกจากตา และลดอาการตาแห้ง
- ทำความสะอาด ดูดฝุ่น เพื่อลดการสะสมของสารก่อภูมิแพ้
- หลีกเลี่ยงการใช้พรม ตุ๊กตา หรือเฟอร์นิเจอร์ที่ทำมาจากผ้า เพราะเป็นแหล่งสะสมของสารก่อภูมิแพ้
สรุปเป็นภูมิแพ้ขึ้นตาอันตรายไหม
ถึงแม้ว่าภูมิแพ้ขึ้นตาจะเป็นโรคที่ไม่อันตรายถึงชีวิต แต่หากปล่อยไว้อาจมีความรุนแรงที่ลามไปยังโรคตาอื่น ๆ ได้ ดังนั้นหากใครกำลังเผชิญกับโรคนี้ และกำลังมองหาวิธีรักษาอาการภูมิแพ้ขึ้นตา สามารถดูแลตัวเองตามวิธีที่ได้แนะนำไปแล้วเบื้องต้น หรือเข้ามาปรึกษาแพทย์จักษุเฉพาะทางเพื่อตรวจวินิจฉัย และแนะนำการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
เอกสารอ้างอิง
อังกฤษ : Zeba A. Syed. (2023, Apr). Allergic Conjunctivitis. Msd Manuals.
https://www.msdmanuals.com/professional/eye-disorders/conjunctival-and-scleral-disorders/allergic-conjunctivitis
อังกฤษ : Allergic conjunctivitis. (n.d.) Mount Sinai.
https://www.mountsinai.org/health-library/diseases-conditions/allergic-conjunctivitis
อังกฤษ : Prof CH Katelaris. (2023, July). Allergy & Anaphylaxis Australia.
https://allergyfacts.org.au/allergy-anaphylaxis/allergic-conjunctivitis